เมนู

อย่าง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น มี 3 อย่าง 3 อย่างเป็นไฉน ? คือบุญกิริยาวัตถุสำเร็จ
ด้วยทาน ฯลฯ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.
ก็ในอธิการนี้ บุญกิริยาวัตถุทั้ง 3 อย่าง มีการเป็นไปด้วยอำนาจ
แห่งกุศลเจตนา ที่เป็นกามาวจร 8 ดวง. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เมื่อบุคคล
แสดงธรรมที่คล่องแคล่วก็ไม่คำนึงถึงอนุสนธิเลย ธรรมบางหมวด ก็ดำเนิน
ไปได้ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรประกอบเนือง ๆ ซึ่งสมถภาวนา และวิปัสสนา-
ภาวนาที่ช่ำชอง มนสิการด้วยจิตที่เป็นญาณวิปยุต ก็เป็นไปได้ในระหว่าง ๆ
(แต่) ทั้งหมดนั้น เป็นบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยเจตนาอย่างเดียว ด้วย
สามารถแห่งกุศลเจตนาที่เป็นมหัคคตะ หาเป็นบุญกิริยาวัตถุนอกนี้ไม่ (ทานมัย
สีลมัย). เนื้อความแห่งพระคาถา ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ 1

2. จักขุสูตร


ว่าด้วยจักษุ 3 อย่าง


[239] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉน ? คือ
มังสจักษุ 1 ทิพยจักษุ 1 ปัญญาจักษุ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ 3 อย่าง
นี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า
บุรุษได้ตรัสจักษุ 3 อย่างนี้ คือ มังสจักษุ 1
ทิพยจักษุ 1 ปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม 1
ความบังเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่ง
ทิพยจักษุ เมื่อใดญาณบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อ
นั้น บุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเพราะ
การได้เฉพาะซึ่งปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบจักขุสูตรที่ 2

อรรถกถาจักขุสูตร


ในจักขุสูตรที่ 2 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จกฺขูนิ ความว่า ชื่อว่าจักษุ เพราะบอก. อธิบายว่าเป็นไป
เหมือนจะบอกทางที่ราบเรียบ และไม่ราบเรียบ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จักษุ
เพราะอรรถว่า ชอบใจ. ถามว่า ที่ชื่อว่า ชอบนี้ คืออย่างไร ? ตอบว่า
ชอบใจ. จริงอย่างที่คนทั้งหลายกล่าวว่า (ผึ้ง) ชอบน้ำหวาน (คน) ชอบ-
กับข้าว. อีกอย่างหนึ่ง อายนะเหล่านั้น เมื่อเสวยรสแห่งอารมณ์ย่อมเป็นเสมือน